Engineering
EXPERT International
1st Thai-Myanmar Friendship Bridge
สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ จ.ตาก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมย เชื่อมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เป็นสะพานที่มีความสำคัญในการสนับสนุนการค้าการลงทุนและการเดินทางของ ประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สะพานแห่งนี จะยิ่งทวีความส้าคัญในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งระหว่างไทยและเมียนมาร์และแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Economic Corridor) ต่อเนื่องไปถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุน การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งสอดคล้องประกาศ ผู้อ้านวยการทางหลวงเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุก จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบโครงสร้างสะพาน เพื่อประเมินสภาพและวิเคราะห์ตามหลักวิศวกรรมถึงความสามารถในการให้บริการต่อรถบรรทุกโดยทั่วไป
จึงได้ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ และประเมินความสามารถรับน้ำหนักบรรทุก ของสะพานมิตรภาพ ไทย-เมียนมาร์ โดยวิธีการตรวจสอบหลักและตรวจสอบพิเศษ (Principal and Special Inspection) ออกแบบ พร้อมนำเข้าข้อมูลในระบบบริหารบำรุงรักษาสะพาน (BMMS) โดยดำเนินการดังนี
สำรวจสภาพความชำรุดเสียหายและการเสื่อมสภาพของสะพาน พร้อมจัดทำแผนผัง แสดงรายละเอียดของความเสียหาย เช่น รอยแตกร้าว การหลุดล่อน การแตกกะเทาะ การเกิดสนิม เป็นต้น
ประเมินความชำรุดเสียหายและผลกระทบที่มีต่อความสามารถในการรับน้ำหนัก ในรูปของค่าระดับความเสียหาย (Condition Rating) โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานและได้รับความ เห็นชอบจากกรมทางหลวง
การทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ (Materials Testing) จะต้องทดสอบคุณสมบัติวัสดุ ของสะพาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวิเคราะห์และประเมินสภาพของสะพาน รวมถึงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบอ้างอิง (Benchmark/Reference) และติดตาม การเสื่อมสภาพของสะพานในอนาคต
การทดสอบและตรวจวัดพฤติกรรมของโครงสร้างสะพาน (Field Measurement of Bridge Behaviors) เพื่อให้ทราบถึงการตอบสนองที่แท้จริงของโครงสร้างสะพานภายใต้ น้ำหนักบรรทุกทดสอบและภายใต้การจราจรปกติ ทั้งโครงสร้างส่วนล่างและโครงสร้างส่วนบน รวมถึงการบ่งบอกถึงความผิดปกติของค่าการตอบสนองเนื่องจากความชำรุด เสียหายที่อาจเกิดขึ้นของโครงสร้าง นอกจากนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวิเคราะห์และประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพาน และใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องและปรับแก้แบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ โครงสร้าง รวมถึงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบอ้างอิง (Benchmark/Reference) และติดตามการเสื่อมสภาพของสะพานในอนาคต ทั้งนี้ การทดสอบจะต้องไม่ทำให้โครงสร้างสะพานเกิดความเสียหาย
การวิเคราะห์โครงสร้างและการประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพาน (Structural Analysis and Bridge Evaluation) แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 3 มิติ สำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear) โดยมีการตรวจสอบความถูกต้อง ปรับแก้แบบจำลอง และใช้วิเคราะห์หาพฤติกรรมภายใต้น้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ยอมรับได้ การประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load Rating) ของโครงสร้างสะพานตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและตามมาตรฐาน AASHTO หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่กรมทางหลวงยอมรับ